|
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
ชุมนุมคนไทยทั้ง 5 ชุมนุม ได้แก่
- ชุมนุมเจ้าพิมาย
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง
- ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
- ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
- ชุมนุมเจ้าตาก หรือพระยาตาก (สิน) ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ ภายในปีเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช และการกอบกู้อิสรภาพ
พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อ นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก แล้วตั้งบที่มั่นที่เมืองจันทบุรี เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
ภายหลังกู้เอกราชแล้ว พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า สภาพของรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก ทั้งนี้ เพราะ
- ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
- กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้
- ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
- ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
- กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
- กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
- ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขาย
- สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
- ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้ สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
- ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น