สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325
สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี มีดังนี้ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม)
2. ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
3. พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
4. ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หมายถึง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน
ความเจริญในด้านต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 มีดังนี้
- การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือตามแบบสมัยอยุธยา โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด
- การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้ คือ
- มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ
- สมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
- สมุหนายก เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- มีจตุสดมภ์ทั้ง 4 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสมุหนายก ได้แก่
- เสนาบดีกรมเมือง
- เสนาบดีกรมวัง
- เสนาบดีกรมคลัง
- เสนาบดีกรมนา
- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ
- หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา
- หัวเมืองชั้นนอก
- หัวเมืองประเทศราช ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง 3 ปีต่อครั้ง ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง
- กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่า กฎหมายตราสามดวง คือ ตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
- การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด วัง และตำหนักเจ้านาย รัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
- การศาสนา การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม วัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไป ของพระพุทธศาสนาในลังกา และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา กลับมา ในสมัยรัชกาลที่ มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
- ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
- โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุล ในประเทศ ได้สำเร็จเป็นประทเศแรก
- อังกฤษ พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 โดยมีสาระสำคัญ คือ ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม
กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้
- ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น
- จุดเร่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา
- สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
- อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
- คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
- คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
- เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
- พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
- สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
- ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
- สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี
- ผลของสนธิสัญญาเบาริง
- ผลดี
- รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
- การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
- อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
- ผลเสีย
- ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
- อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
- อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข
- ผลดี
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
- ด้านการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น