พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่วง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วง นักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๖๒
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอม และการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๖๒ -๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัยทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” (เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดาราม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์ โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สอง คือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่าพระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏนาม
การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้นแม้สามารถ ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตามพ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสี คือนางสิขรมหาเทวีซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอม นั้นเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ ๗ ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม “ศรีบดิทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมือง มาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นานประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย?
ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่าพระรามราช?) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วยการสู้รบนั้นได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชนและ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดาจน มีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
ระยะแรกนั้นเมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้น ไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่างๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม
ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคง และสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้น ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วย คือ พระยาคำแหงพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ขุนบานเมืองหรือพญาปาลราชโอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา.
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอม และการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๖๒ -๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัยทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” (เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดาราม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์ โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สอง คือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่าพระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏนาม
|
การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้นแม้สามารถ ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตามพ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสี คือนางสิขรมหาเทวีซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอม นั้นเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ ๗ ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม “ศรีบดิทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมือง มาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นานประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย?
|
ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่าพระรามราช?) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วยการสู้รบนั้นได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชนและ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดาจน มีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
|
ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคง และสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้น ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วย คือ พระยาคำแหงพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ขุนบานเมืองหรือพญาปาลราชโอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น