พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ ๑. สู้รบศัตรู อย่างกล้าหาญได้ทรงชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกกองทัพมารุกรานกรุงสุโขทัยจนได้ชัยชนะ พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า พระรามคำแหง เมื่อเป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ได้ทรงรบขยายราชอาณาจักรออกไปกว้างขวางมาก เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง | |
๒. พระยาเม็งราย(เจ้าเมืองเชียงใหม่) และพระยางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) แห่ง อาณาจักรลานนา ไกลออกไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นมีกุบไลข่าน (พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้) เป็นกษัตริย์ ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศทั้งสอง ทั้งยังได้ทรงนำช่างทำถ้วยชามชาวจีนมาสอนคนไทย ตั้งเตาเผาถ้วยชาม และเครื่องเคลือบขึ้นที่กรุงสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย (เชลียง) และเมืองสวรรค โลก เครื่องเคลือบชนิดนี้เราเรียกว่า "สังคโลก"
ทรงติดต่อค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น ชวา มลายู และลังกา
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจคือ ขณะนั้น มีชาวมอญผู้หนึ่งชื่อ มะกะโท เป็นพ่อค้าจากเมาะตะมะ เข้ามาอยู่กรุงสุโขทัยได้ลอบนำองค์ พระสุวรรณเทวี พระราชธิดา หนีไปอยู่เมาะตะมะ ต่อมามะกะโทได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์มอญ ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว และมอญก็ได้เข้ามาขอเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัย | |
๓. ไว้ที่ประตูพระราชวัง ผู้ใดมีทุกข์ร้อนก็มาสั่นกระดิ่งถวายฎีกาได้ ในวันโกนวันพระ ได้ทรงนิมนต์พระภิกษุแสดงพระธรรมเทศนา บนพระแท่นมนังศิลาบาตร กลางดงตาล ในวันธรรมดา พระองค์ก็เสด็จออกว่าราชการ และให้ราษฎรเข้า เฝ้าอยู่ใกล้ชิด และทรงอบรมศีลธรรมจรรยาแก่ราษฎร (พระแท่นมนังศิลาบาตรนี้ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้นำมาไว้ที่กรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในวิหารยอด ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังตามพระบัญชาของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖) ๔. ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทย ในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ หลักศิลาจารึกของ พระองค์นี้ มีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลัง ได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากศิลาจารึกนี้เป็นอย่างมาก (ปัจจุบันศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร) การสร้างแบบหนังสือไทยขึ้นนี้ นับว่า เป็นการประดิษฐ์ อันสำคัญยิ่งสำหรับชาติ |
http://phatraporn23243.blogspot.com/
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น