พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ ๑. สู้รบศัตรู อย่างกล้าหาญได้ทรงชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกกองทัพมารุกรานกรุงสุโขทัยจนได้ชัยชนะ พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า พระรามคำแหง เมื่อเป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ได้ทรงรบขยายราชอาณาจักรออกไปกว้างขวางมาก เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง | |
๒. พระยาเม็งราย(เจ้าเมืองเชียงใหม่) และพระยางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) แห่ง อาณาจักรลานนา ไกลออกไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นมีกุบไลข่าน (พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้) เป็นกษัตริย์ ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศทั้งสอง ทั้งยังได้ทรงนำช่างทำถ้วยชามชาวจีนมาสอนคนไทย ตั้งเตาเผาถ้วยชาม และเครื่องเคลือบขึ้นที่กรุงสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย (เชลียง) และเมืองสวรรค โลก เครื่องเคลือบชนิดนี้เราเรียกว่า "สังคโลก"
ทรงติดต่อค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น ชวา มลายู และลังกา
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจคือ ขณะนั้น มีชาวมอญผู้หนึ่งชื่อ มะกะโท เป็นพ่อค้าจากเมาะตะมะ เข้ามาอยู่กรุงสุโขทัยได้ลอบนำองค์ พระสุวรรณเทวี พระราชธิดา หนีไปอยู่เมาะตะมะ ต่อมามะกะโทได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์มอญ ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว และมอญก็ได้เข้ามาขอเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัย | |
๓. ไว้ที่ประตูพระราชวัง ผู้ใดมีทุกข์ร้อนก็มาสั่นกระดิ่งถวายฎีกาได้ ในวันโกนวันพระ ได้ทรงนิมนต์พระภิกษุแสดงพระธรรมเทศนา บนพระแท่นมนังศิลาบาตร กลางดงตาล ในวันธรรมดา พระองค์ก็เสด็จออกว่าราชการ และให้ราษฎรเข้า เฝ้าอยู่ใกล้ชิด และทรงอบรมศีลธรรมจรรยาแก่ราษฎร (พระแท่นมนังศิลาบาตรนี้ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้นำมาไว้ที่กรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในวิหารยอด ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังตามพระบัญชาของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖) ๔. ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทย ในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ หลักศิลาจารึกของ พระองค์นี้ มีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลัง ได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากศิลาจารึกนี้เป็นอย่างมาก (ปัจจุบันศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร) การสร้างแบบหนังสือไทยขึ้นนี้ นับว่า เป็นการประดิษฐ์ อันสำคัญยิ่งสำหรับชาติ |
ประวัติศาสตร์ไทย
http://phatraporn23243.blogspot.com/
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่วง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วง นักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๖๒
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอม และการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๖๒ -๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัยทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” (เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดาราม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์ โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สอง คือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่าพระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏนาม
การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้นแม้สามารถ ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตามพ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสี คือนางสิขรมหาเทวีซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอม นั้นเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ ๗ ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม “ศรีบดิทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมือง มาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นานประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย?
ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่าพระรามราช?) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วยการสู้รบนั้นได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชนและ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดาจน มีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
ระยะแรกนั้นเมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้น ไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่างๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม
ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคง และสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้น ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วย คือ พระยาคำแหงพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ขุนบานเมืองหรือพญาปาลราชโอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา.
เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอม และการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๖๒ -๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัยทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” (เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดาราม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์ โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สอง คือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่าพระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏนาม
|
การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้นแม้สามารถ ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตามพ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสี คือนางสิขรมหาเทวีซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอม นั้นเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ ๗ ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม “ศรีบดิทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมือง มาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นานประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย?
|
ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่าพระรามราช?) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วยการสู้รบนั้นได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชนและ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดาจน มีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง
|
ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคง และสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้น ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วย คือ พระยาคำแหงพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ขุนบานเมืองหรือพญาปาลราชโอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา.
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ( ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน ) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปีผลงานอันสร้างชื่อของพระเจ้าตากสินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆนอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ
ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
สมเด็จพระนเรศรมหาราช
ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช(พระองค์ดำ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมนามาภิไธย : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธย : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
พระราชอิสริยยศ : พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชวงศ์ : ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
บรมราชาภิเษก : 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
รัชกาลก่อนหน้า : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
วัดประจำรัชกาล : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร : พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ : 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 / เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
พระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชินี : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชโอรส/ธิดา
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชินี : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชโอรส/ธิดา
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ: 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530
และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา
คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย
ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงสินทรัพย์ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดการอยู่นั้น มีมากกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก 3 ปีติดต่อกันมาจนปัจจุบัน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ อนุสรณ์ถึงพระองค์นั้นพบได้ดาษดื่นในสื่อมวลชนไทย
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไป โรงพยาบาลศิริราช อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ
ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส พระองค์ทรงหายจากประชวรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530
และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา
คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย
ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงสินทรัพย์ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดการอยู่นั้น มีมากกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก 3 ปีติดต่อกันมาจนปัจจุบัน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ อนุสรณ์ถึงพระองค์นั้นพบได้ดาษดื่นในสื่อมวลชนไทย
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไป โรงพยาบาลศิริราช อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ
ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส พระองค์ทรงหายจากประชวรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตะละภัฎ, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) มีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า เบบี สงขลา (อังกฤษ: Baby Songkla)
ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"
พระนามภูมิพลอดุลเดชนั้นพระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล"
ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน
พระนามของพระองค์มีความหมายว่า
ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"
เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก
ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
ทรงศึกษา
พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477
ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝรั่งเศส: École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน (ฝรั่งเศส: Chailly-sur-Lausanne)
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ทรงประสบอุบัติเหตุ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปีพ.ศ. 2489
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก
ในขณะนี้ ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามพระลำดับ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส
หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก
ในขณะนี้ ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามพระลำดับ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส
หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เสวยราชย์และทรงอภิเษกสมรส
Searchtool.svg ดูเพิ่มที่ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ในรัชกาลที่ 9 และ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกันนั้นเอง
รัฐสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ในการที่จะอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป
แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ ล่าสุด พ.ศ 2543 มีพระชนมายุ 73 พรรษา นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยนับตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่มีพระชนมายุเกิน 70 พรรษา
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชสมบัติแต่ในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2493 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ในโอกาสนี้พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชสมบัติแต่ในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2493 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ในโอกาสนี้พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
ทรงผนวช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบาตร ขณะผนวช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า ภูมิพโลภิกขุ
หลังจากนั้น พระองค์เสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวชนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในปีเดียว
ระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัยนอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่น ๆ เช่นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบทนาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในวันที่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต จากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในโอกาสนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย
อนึ่ง ในการทรงพระผนวชครั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌาจารย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และถวายฐานันดรศักดิ์ เป็น กรมหลวง
เหตุลอบปลงพระชนม์ที่ยะลาปี2520
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเยี่ยมราษฎรที่บาดเจ็บจากเหตุระเบิด เดือนกันยายน 2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในจังหวัดภาคใต้ ในวันที่ 22 กันยายน 2520 เวลา 15.15 น.
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ทรงประทับบนพลับพลาที่ประทับ ซึ่งมีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จฯราว 30,000 คน ก็ได้มีราษฏรที่มาเฝ้ารับเสด็จฯไปหยิบไฟแช็คดังกล่าวเป็นเหตุให้ระเบิดลูกแรกเกิดระเบิดขึ้น
ราษฏรต่างพากันแตกตื่นและเหยียบกับระเบิดลูกที่สอง ทำให้ระเบิดลูกที่สองเกิดระเบิดขึ้น ระเบิดลูกแรกห่างจากพลับพลาที่ประทับ 60.15 เมตร ห่างจากลาดพระบาท 5.20 เมตร และระเบิดลูกที่สองห่างจากพลับพลาที่ประทับ 105.15 เมตร ห่างจากลาดพระบาท 6.00 เมตร แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 55 คน บาดเจ็บสาหัส 11 คน
ขณะที่เกิดความโกลาหลนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาวบ้านได้เข้าระงับควบคุมฝูงชนอย่างฉับพลัน มีการใช้เครื่องขยายเสียงแบบมือถือที่เตรียมไว้แล้วปลอบโยนประชาชนมิให้ตื่นตระหนกและให้อยู่กับที่ ขณะเดียวกันก็มีการลำเลียงผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มิได้ทรงรับบาดเจ็บใด ๆ
ขณะเกิดเหตุนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนประทับอยู่กับที่และทอดพระเนตรมองเหตุการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ยืนรายล้อมถวายการอารักษา ในขณะที่พิธีการต้องหยุดชะงักชั่วครู่ทั้งนี้ก่อนหน้าเหตุระเบิดราวราว 20 ชั่วโมง ก็ได้มีตำรวจขับรถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟจราจรพุ่งชนรถยนต์พระที่นั่งจนเกิดไฟลุกท่วม
ภายหลังเกิดเหตุ สมเด็จพระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่อไป โดยมิได้แสดงพระอาการปริวิตกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีพระราชดำรัสให้ทุกคนมีจิตใจเข้มแข็งไม่ตื่นเต้นต่อสถานการณ์เมื่อจบคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ซึ่งประทับอยู่ในพลับพลาฯทรงนำเหล่าราษฎรร้องเพลง “เราสู้”
และภายหลังเสร็จพระราชกรณียกิจ เวลา 18.55 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลจังหวัดยะลา
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
การพูด
การพูด
ประเพณีนิยมถือความลดหลั่นกันในทาง ชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ซึ่งแสดงว่าเป็นชาติที่มีความรู้สิกนึกคิดประณีต แสดงออกให้เห็นทางความประพฤติทั้งกายวาจาและใจ วาจาไพเราะหรือที่เรียกเป็นศัพท์ว่า ปิจะวาจานั้น ได้แก่ถ้อยคำที่เว้นจากวจีทุจริต วาจาไพเราะเป็นคุณสมบัติสำคัญในการพูด เพื่อความสงบสำเร็จประโยชน์ตนประโยชน์ท่านและย่อมยึดเหนี่ยวใจของผู้ฟังได้ให้เกิดความนิยมรักใคร่นับถือผู้พูดมารดาบิดาเจรจากับบุตรด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน คำนั้นย่อมจับใจของบุตรธิดา ทำให้เกิดความรักใคร่นับถือและกตัญญูต่อบิดามารดายิ่งขึ้น บุตรธิดารู้จักพูด มารดาบิดาย่อมรักเอ็นดูมากขึ้น
ผู้มีมารยาทจะต้องระมัดระวังในการใช้วาจา คือ
1. ต้องระวังมิใช้วาจาเท็จ อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายคลายความเชื่อถือ เพราะความเท็จนั้นจะปรากฏขึ้นมิวันใดก็วันหนึ่ง ถ้ามีผู้จำได้ก็จะเห็นไปว่ากิริยาวาจาที่บุคคลพูดเท็จอย่างสุภาพเรียบร้อยนั้นเป็นเสมือน เปลือกที่หุ้มห่อร่างกายอยู่ภายนอก แต่ภายในไม่มีอะไรดีเลย เหมือนกับต้นกล้วยเรียบร้อยข้างนอก แต่ภายในไม่มีแก่น
2. ไม่ใช้วาจายุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าว หรือระหองระแหงกัน ควรหลีกเสียอย่างเด็ดขาด การสนทนาที่ดีย่อมไม่กล่าวถึงใครในแง่ร้าย ให้กล่าวถึงเรื่องที่ไม่พาดถึงบุคคลในทางที่จะทำให้เขาเสียหาย ควรพูดนทนาในทาที่จะเกิดความรู้
3. ไม่กล่าววาจาหยาบคายเสียดสีดูถูก หรือขัดคอผู้อื่น จะทำให้ขัดเคืองกันและเป็นการน่าละอายสำหรับผู้ที่แสดงวาจาเช่นนั้นออกมา เพราะจะทำให้ผู้ได้ยอนได้ฟังรู้ไปถึงว่าผู้พูดมีการอบรมมาอย่างไร
4. ต้องพยายามใช้คำพูดที่เหมาะสมที่ควรและถูกหูผู้ที่เราพูดด้วย การพูดวาจาไพเราะย่อมเป็นที่นิยมชมชอบแก่ผู้ได้ยินได้ฟังมาก และยังให้ประโยชน์แก่ตนเองให้เป็นที่นับถือ
ของคนทั้งหลาย ถ้าเข้าใจพูดอาจยังผู้น้อยให้มีแก่ใจทำกิจการด้วยความจงรักภักดี
5. ย่อมไม่พูดเสียงดังจนเกินไป หรือพูดพลางหัวเราะพลางในกลุ่มคนที่ตนร่วมสนทนาด้วย จะทำให้ผู้พูดเสียบุคลิกลักษณะของสุภาพชน
6. คู่สนทนาที่ดีนั้นมิใช่จะเป็นผู้พูดอย่างเดียว หรือฟังอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติให้พอดี คือรู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและเป็นนักฟังที่สนใจ
7. สุภาพสตรีย่อมมีความสำรวมกายอยู่เป็นนิจ ไม่ส่งเสียอื้ออึง ไม่ทำสนิทหรือหยอกล้อกับบุรุษในที่ลับและที่เปิดเผย ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่หัวเราะส่งเสียงดัง พูดดังเกินงามจนเป็นจุดเด่นให้คนอื่นหันมาจ้องมอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)